ประชาชาติธุรกิจ 8-10 กันยายน 2546
ข่าวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมานี้คงไม่มีข่าวใดที่มีความสำคัญเท่ากับ ข่าวที่ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) ออกมาบอกประชาชนว่า มีต่างชาติและคนไทยทุ่มเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไร
วิธีทำก็คือ สั่งซื้อเงินบาทด้วยเงินดอลลาร์ โดยอาจจะซื้อในตลาดล่วงหน้า(Swap market) หรือตลาดทันที (Spot market) ก็แล้วแต่ เมื่อมีการเอาเงินดอลลาร์มาสั่งซื้อเงินบาทมากๆ ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว
เวลาที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เช่น จาก 42 บาทต่อดอลลาร์ มาเป็น 40 บาท เขาก็ขายบาทเพื่อซื้อดอลลาร์กลับคืน ผู้เก็งกำไรได้กำไรไปดอลลาร์ละ 2 บาทสบายๆไป
ผู้เก็งกำไรทำได้ทั้งสองอย่าง คือ เอาเงินดอลลาร์เข้ามาซื้อในตลาดทันที (Spot market) หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Swap market) แต่ถ้าจะไม่ต้องใช้เงินเลยก็ใช้วิธีสั่งขายล่วงหน้า พอสั่งซื้อมากๆ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าก็เปลี่ยนไป คือค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ตนเองต้องรับความเสี่ยงก็ซื้อเงินบาทปัจจุบันใช้จ่าย อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
เมื่อเงินบาทแข็งขึ้นถึงระดับที่เขาพอใจ และคิดว่าค่าเงินบาทคงจะยืนอยู่ไม่ได้ตรงนั้น ก็เทขายเงินบาท
เมื่อตอนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดเมื่อ 4-5 ปีก่อน การเก็งกำไรเกิดขึ้นทุกปี และยิ่งอัตราดอกเบี้ยของเขาต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศด้วยแล้วก็ยิ่งไม่มีทางขาดทุน โดยทุ่มเงินดอลลาร์เข้ามาขายในตลาดทันทีเพื่อแสดงท่าทีว่าจะเอาเงินบาทมาซื้อหุ้น หรือมาซื้อหุ้นจริงๆ แต่จำนวนไม่มาก พอราคาหุ้นขึ้นค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น ในช่วงนั้นค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นจากประมาณ 44-45 บาทต่อดอลลาร์ มาถึง 36-37 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์
ทางการยุคนั้น(รัฐบาลชวน หลีกภัย) ก็ดีใจแถลงว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด" หรือ "ค่าเงินบาทแข็งเพราะเศรษฐกิจเราแข็งแกร่ง" หรือ "ค่าเงินที่แข็งขึ้นไม่กระทบการส่งออก" หรือ "ไม่เป็นไร เพราะเราจะได้นำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบถูกลง" ถ้อยคำต่างๆเหล่านี้ไม่ถูกต้องเลยทั้งนั้น เพราะแท้จริงแล้วมีการเก็งกำไรค่าเงิน โดยการโยกเงินเข้าหรือทุ่มซื้อล่วงหน้า
พอเงินแข็งมาอยู่ที่ดอลลาร์ละ 36-37 บาท ก็เทขายเงินบาทนำไปซื้อเงินดอลลาร์ เงินบาทก็อ่อนลงจาก 36-37 บาท กลับมาอยู่ที่เดิมที่ 44-45 บาทอีก ในสมัยนั้นเป็นอย่างนั้นเกือบทุกปี เศรษฐกิจก็ไม่ได้แข็งแกร่งอะไรอย่างที่ทราบกันดีแล้ว
การเก็งกำไรค่าเงินเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากจะทำให้ธุรกิจมีความยากลำบากในการดำเนินการแล้ว ผู้เก็งกำไรจะดูดเอากำไรกลับไปโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดความเจริญงอกงามอะไรเลย
ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ส่งออก ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยทำงานกันเกือบแย่ แต่ในที่สุดก็โดนนักเก็งกำไรรีดเอากำไรกลับไปประเทศของตนหมด
สมัยก่อนทีตลาดล่วงหน้ายังไม่แพร่หลาย ตลาดเงินบาทนอกประเทศไม่มีการเก็งกำไรก็อาจจะทำได้โดยการนำเงินเข้ามาซื้อหุ้น เมื่อได้กำไรจากตลาดหุ้นแล้วก็ขายเอากำไรออกไป
ส่วนค่าเงินบาทเก็งไม่ได้ เพราะเราใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ตรึงไว้กับตะกร้าเงิน พร้อมกันนั้นนักเก็งกำไรต่างชาติเราก็ไม่อนุญาตให้ถือเงินบาทในจำนวนมาก การนำเงินเข้าออกต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย การเก็งกำไรจากค่าเงินก็เลยไม่มี
ต่อมาเราเปิดตลาดการเงินมากขึ้น อนุญาตให้ต่างชาติถือบัญชีเงินบาทในตลาดต่างประเทศมากขึ้น จนเกิดตลาดเงินบาทขึ้นในต่างประเทศ ศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดที่สิงคโปร์ แล้วก็ฮ่องกง ลอนดอน นิวยอร์ค เมื่อมีเงินบาทอยู่ในต่างประเทศมากขึ้น ก็เลยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เมื่อมีเงินบาทในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ก็มีการปั่นตลาดเงินบาทให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงได้ง่ายๆ เพราะนักปั่นเงินมีทุนมากมายมหาศาลที่เป็นดอลลาร์เมื่อเทียบกับปริมาณเงินบาทในตลาด พอมีการปั่นค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศขึ้น ค่าเงินบาทในประเทศก็ต้องขึ้นตาม เพราะเราอนุญาตให้เงินไหลเข้าออกได้ แม้จะมีการควบคุมแต่ก็อนุญาตให้ต่างชาตินำเงินเข้าออกมาซื้อหุ้นและซื้อหลังทรัพย์ หรือมาลงทุนได้ ส่วนคนไทยทำอย่างนั้นไม่ได้ แม้ว่าทางการสมัยหนึ่งจะเคยออกกฏห้ามไม่ให้ต่างชาตินำเงินเข้าออกเกินกว่ารายละ 50 ล้านบาท แต่เขาก็เลี่ยงโดยแตกเป็นหลายๆรายการ และหลายๆบัญชี
การโยกเงินเข้าออก หรือปั่นค่าเงินให้ขึ้นลงนี้ทำได้ทั้งสองทาง คือโยกให้ลงในกรณีที่เห็นว่าค่าเงินบาทแข็งเกินไป ถ้าเราไปสู้เพื่อรักษาค่าเงินให้แข็งไว้ ทุนสำรองก็ร่อยหรอเท่าจำนวนที่เอาดอลลาร์ออกขายทั้งในตลาดทันทีและตลาดล่วงหน้า นอกจากนั้นคนแตกตื่นก็เอาเงินออก เจ้าหนี้ที่ปล่อยเงินกู้เป็นดอลลาร์ก็เรียกหนี้คืน ในที่สุดก็ต้องลดค่าเงิน กลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินไป
แต่การปั่นให้เงินขึ้นแล้วเทขายนั้น อันตรายก็มีเพียงทำให้ค่าเงินผันผวน ผู้เก็งกำไรได้กำไรจากหยาดเหงื่อของผู้ผลิตของเรา โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลย เราทำมาค้าขายได้เงินเท่าไหร่เขาเอาไปหมด ทุนสำรองที่ซื้อไว้เวลาเขาเอาเงินดอลลาร์ออกไปก็จะปั่นจำนวนเงินมากกว่าที่เขาเอาเข้ามา
การเก็งกำไรโดยการปั่นค่าเงินบาทขึ้นแล้วเราจำกัดการแทรกแซงไม่ให้ขึ้นโดยการออกมาซื้อดอลลาร์ไปเก็บเอาไว้ ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่มีข้อเสียสองสามอย่าง
อย่างแรกเงินบาทที่ธนาคารเอาไปซื้อเงินดอลลาร์มาเก็บไว้ก็จะทำให้นักปั่น มีเงินบาทมากขึ้น ตลาดเงินบาทจะใหญ่ขึ้น ทำให้การปั่นเงินบาททำได้มากขึ้น รุนแรงขึ้นในอนาคต ถ้าไปแทรกแซงในตลาดต่างประเทศ
วิธีทำก็คือ สั่งซื้อเงินบาทด้วยเงินดอลลาร์ โดยอาจจะซื้อในตลาดล่วงหน้า(Swap market) หรือตลาดทันที (Spot market) ก็แล้วแต่ เมื่อมีการเอาเงินดอลลาร์มาสั่งซื้อเงินบาทมากๆ ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว
เวลาที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เช่น จาก 42 บาทต่อดอลลาร์ มาเป็น 40 บาท เขาก็ขายบาทเพื่อซื้อดอลลาร์กลับคืน ผู้เก็งกำไรได้กำไรไปดอลลาร์ละ 2 บาทสบายๆไป
ผู้เก็งกำไรทำได้ทั้งสองอย่าง คือ เอาเงินดอลลาร์เข้ามาซื้อในตลาดทันที (Spot market) หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Swap market) แต่ถ้าจะไม่ต้องใช้เงินเลยก็ใช้วิธีสั่งขายล่วงหน้า พอสั่งซื้อมากๆ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าก็เปลี่ยนไป คือค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ตนเองต้องรับความเสี่ยงก็ซื้อเงินบาทปัจจุบันใช้จ่าย อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
เมื่อเงินบาทแข็งขึ้นถึงระดับที่เขาพอใจ และคิดว่าค่าเงินบาทคงจะยืนอยู่ไม่ได้ตรงนั้น ก็เทขายเงินบาท
เมื่อตอนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดเมื่อ 4-5 ปีก่อน การเก็งกำไรเกิดขึ้นทุกปี และยิ่งอัตราดอกเบี้ยของเขาต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศด้วยแล้วก็ยิ่งไม่มีทางขาดทุน โดยทุ่มเงินดอลลาร์เข้ามาขายในตลาดทันทีเพื่อแสดงท่าทีว่าจะเอาเงินบาทมาซื้อหุ้น หรือมาซื้อหุ้นจริงๆ แต่จำนวนไม่มาก พอราคาหุ้นขึ้นค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น ในช่วงนั้นค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นจากประมาณ 44-45 บาทต่อดอลลาร์ มาถึง 36-37 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์
ทางการยุคนั้น(รัฐบาลชวน หลีกภัย) ก็ดีใจแถลงว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด" หรือ "ค่าเงินบาทแข็งเพราะเศรษฐกิจเราแข็งแกร่ง" หรือ "ค่าเงินที่แข็งขึ้นไม่กระทบการส่งออก" หรือ "ไม่เป็นไร เพราะเราจะได้นำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบถูกลง" ถ้อยคำต่างๆเหล่านี้ไม่ถูกต้องเลยทั้งนั้น เพราะแท้จริงแล้วมีการเก็งกำไรค่าเงิน โดยการโยกเงินเข้าหรือทุ่มซื้อล่วงหน้า
พอเงินแข็งมาอยู่ที่ดอลลาร์ละ 36-37 บาท ก็เทขายเงินบาทนำไปซื้อเงินดอลลาร์ เงินบาทก็อ่อนลงจาก 36-37 บาท กลับมาอยู่ที่เดิมที่ 44-45 บาทอีก ในสมัยนั้นเป็นอย่างนั้นเกือบทุกปี เศรษฐกิจก็ไม่ได้แข็งแกร่งอะไรอย่างที่ทราบกันดีแล้ว
การเก็งกำไรค่าเงินเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากจะทำให้ธุรกิจมีความยากลำบากในการดำเนินการแล้ว ผู้เก็งกำไรจะดูดเอากำไรกลับไปโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดความเจริญงอกงามอะไรเลย
ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ส่งออก ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยทำงานกันเกือบแย่ แต่ในที่สุดก็โดนนักเก็งกำไรรีดเอากำไรกลับไปประเทศของตนหมด
สมัยก่อนทีตลาดล่วงหน้ายังไม่แพร่หลาย ตลาดเงินบาทนอกประเทศไม่มีการเก็งกำไรก็อาจจะทำได้โดยการนำเงินเข้ามาซื้อหุ้น เมื่อได้กำไรจากตลาดหุ้นแล้วก็ขายเอากำไรออกไป
ส่วนค่าเงินบาทเก็งไม่ได้ เพราะเราใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ตรึงไว้กับตะกร้าเงิน พร้อมกันนั้นนักเก็งกำไรต่างชาติเราก็ไม่อนุญาตให้ถือเงินบาทในจำนวนมาก การนำเงินเข้าออกต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย การเก็งกำไรจากค่าเงินก็เลยไม่มี
ต่อมาเราเปิดตลาดการเงินมากขึ้น อนุญาตให้ต่างชาติถือบัญชีเงินบาทในตลาดต่างประเทศมากขึ้น จนเกิดตลาดเงินบาทขึ้นในต่างประเทศ ศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดที่สิงคโปร์ แล้วก็ฮ่องกง ลอนดอน นิวยอร์ค เมื่อมีเงินบาทอยู่ในต่างประเทศมากขึ้น ก็เลยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
เมื่อมีเงินบาทในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ก็มีการปั่นตลาดเงินบาทให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงได้ง่ายๆ เพราะนักปั่นเงินมีทุนมากมายมหาศาลที่เป็นดอลลาร์เมื่อเทียบกับปริมาณเงินบาทในตลาด พอมีการปั่นค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศขึ้น ค่าเงินบาทในประเทศก็ต้องขึ้นตาม เพราะเราอนุญาตให้เงินไหลเข้าออกได้ แม้จะมีการควบคุมแต่ก็อนุญาตให้ต่างชาตินำเงินเข้าออกมาซื้อหุ้นและซื้อหลังทรัพย์ หรือมาลงทุนได้ ส่วนคนไทยทำอย่างนั้นไม่ได้ แม้ว่าทางการสมัยหนึ่งจะเคยออกกฏห้ามไม่ให้ต่างชาตินำเงินเข้าออกเกินกว่ารายละ 50 ล้านบาท แต่เขาก็เลี่ยงโดยแตกเป็นหลายๆรายการ และหลายๆบัญชี
การโยกเงินเข้าออก หรือปั่นค่าเงินให้ขึ้นลงนี้ทำได้ทั้งสองทาง คือโยกให้ลงในกรณีที่เห็นว่าค่าเงินบาทแข็งเกินไป ถ้าเราไปสู้เพื่อรักษาค่าเงินให้แข็งไว้ ทุนสำรองก็ร่อยหรอเท่าจำนวนที่เอาดอลลาร์ออกขายทั้งในตลาดทันทีและตลาดล่วงหน้า นอกจากนั้นคนแตกตื่นก็เอาเงินออก เจ้าหนี้ที่ปล่อยเงินกู้เป็นดอลลาร์ก็เรียกหนี้คืน ในที่สุดก็ต้องลดค่าเงิน กลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินไป
แต่การปั่นให้เงินขึ้นแล้วเทขายนั้น อันตรายก็มีเพียงทำให้ค่าเงินผันผวน ผู้เก็งกำไรได้กำไรจากหยาดเหงื่อของผู้ผลิตของเรา โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลย เราทำมาค้าขายได้เงินเท่าไหร่เขาเอาไปหมด ทุนสำรองที่ซื้อไว้เวลาเขาเอาเงินดอลลาร์ออกไปก็จะปั่นจำนวนเงินมากกว่าที่เขาเอาเข้ามา
การเก็งกำไรโดยการปั่นค่าเงินบาทขึ้นแล้วเราจำกัดการแทรกแซงไม่ให้ขึ้นโดยการออกมาซื้อดอลลาร์ไปเก็บเอาไว้ ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่มีข้อเสียสองสามอย่าง
อย่างแรกเงินบาทที่ธนาคารเอาไปซื้อเงินดอลลาร์มาเก็บไว้ก็จะทำให้นักปั่น มีเงินบาทมากขึ้น ตลาดเงินบาทจะใหญ่ขึ้น ทำให้การปั่นเงินบาททำได้มากขึ้น รุนแรงขึ้นในอนาคต ถ้าไปแทรกแซงในตลาดต่างประเทศ
อย่างที่สองอาจจำทำให้ปริมาณเงินในตลาดเงินบาทสูงขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง แต่ทางการก็แก้โดยการดูดซับเงินบาทคืน
อย่างที่สามทางการอาจจะขาดทุนจากการเข้าไปแทรกแซงก็ได้หาทำไม่สำเร็จ
ส่วนที่จะเป็นอันตรายจากการขาดความเชื่อมั่น เงินทุนไหลออกจนเป็นอันตรายต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ เหมือนอย่างกรณีที่ค่าเงินของเขาแข็งเกินไป คงจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะการแทรกแซงจะทำให้เรามีทุนสำรองมากขึ้น
การเก็งกำไรค่าเงินขาขึ้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ทำในระยะสั้นๆ เมื่อค่าเงินแข็งขึ้นไปแล้วก็จะเทเงินบาทออกขายกลับไปซื้อดอลลาร์อีก ขนเอากำไรกลับบ้านไป
นานๆเราถึงจะเห็นเหตุการณ์อย่างนี้เสียที เพราะการเก็งกำไรแบบนี้ผู้เก็งกำไรอาจจะเสี่ยงมากกับมาตรการทางกฏหมายของประเทศเจ้าของเงินได้ และขาดทุนได้ง่ายเหมือนอย่างเมื่อ 6-7 เดือนก่อนหน้านี้
แต่ถ้าจะแทรกแซงโดยเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์เก็บไว้ก็ไม่น่าจะเสี่ยงเหมือนกัน กรณีที่นักเก็งกำไรโจมตีให้ค่าเงินบาทอ่อน เพียงแค่ธนาคารกลางของประเทศเจ้าของเงินจะมีทุนสำรองมา แต่ไม่เคยเห็นประเทศไหนล้มละลายเพราะมีทุนสำรองมาก มีแต่ล้มละลายเพราะทุนสำรองหมด
ประเทศมาเลเซีย โดยท่านนายกรัฐมนตรีมหาธีร์เคยประกาศยกเลิกเงินริงกิตที่อยู่นอกประเทศ ที่จริงสิงคโปร์นั่นแหละ ให้นำกลับเข้ามาเลเซียภายใน 1 เดือน เมื่อเกิน 1 เดือนถือว่ายกเลิก รวมทั้งธนบัตรให้นำเข้ามาภายใน 1 เดือน ถ้าเกิน 1 เดือนนำเข้ามาไม่ได้ เมื่อนำเข้ามาแล้ว เอาออกไปก่อนครบ 1 ปีไม่ได้ ตลาดริงกิตนอกประเทศจึงหมดไป
จีนก็ยังห้ามนำเงินหยวนออกนอกประเทศ จะมีอยู่บ้างก็ที่ฮ่องกงแต่ก็ไม่มาก
สิงคโปร์ก็ไม่ยอมให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ไปค้าขายอยู่นอกประเทศ เพราะกลัวนักเก็งกำไรมาโยก หรือมาปั่นเก็งกำไรค่าเงิน
ประเทศต่างๆก็พยายามไม่ให้ต่างชาติมีเงินสกุลของตน เพราะจะทำให้นักปั่นตลาดเก็งกำไรได้
สำหรับเงินบาทเราทะลักออกไปนอกประเทศตอนที่เราถูกบังคับให้ผ่อนคลายการควบคุมการไหลเข้าออกของเงิน ประกอบกับเราอยากจะเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค
แต่ที่ออกไปมากจริงๆ ก็คงตอนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต่อสู้ปกป้องค่าเงินบาทในปี 2540 โดยการขายดอลลาร์ล่วงหน้า แล้วเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์กลับในตลาดทันที เงินบาทก็เลยทะลักไปอยู่ในมือของต่างชาติจำนวนมาก
แต่เที่ยวนี้นักเก็งกำไรปั่นค่าเงินบาทขึ้น ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนมากที่ทางการไม่เล่นด้วย เหมือนกับการปั่นหุ้น ถ้าเจ้าของบริษัทที่หุ้นถูกปั่นไม่เล่นด้วย
เสี่ยงจากการที่จะถูกจับเพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย เสี่ยงที่จะถูกมาตรการอื่นๆเล่นงาน
ไม่เหมือนกับที่นักเก็งกำไรไล่โจมตีค่าเงินให้ต่ำลง เพราะเจ้าของบ้านมีทุนสำรองจำกัด ถ้าเข้าไปต่อสู้ป้องกันก็แพ้วันยังค่ำ เพราะนักเก็งกำไรมีเป็นจำนวนมากและมีทุนหนากว่าเรามาก ถ้าเราใช้ระบบเสรีก็เหมือนกับเอานักมวยรุ่นฟลายเวทไปชกกับนักมวยรุ่นเฮฟวี่เวต อย่างไรก็สู้กันไม่ได้
อย่างไรก็ลองกลับไปพิจารณาดูระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ตรึงไว้กับตะกร้าเงินที่ไม่ประกาศสัดส่วนของเงินตราสกุลหลักในตะกร้า และรู้จักจัดการให้ดี อย่าทำอย่างที่เคยทำ อาจเป็นระบบที่ดีที่สุดก็ได้ สามารถขจัดการเก็งกำไรได้หมด
ลองเอามาคิดกันดูก็ไม่เลว
จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 8-10 กันยายน 2446
2 comments:
โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ มติชนรายวัน วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10503
ระยะนี้การเมืองคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุดที่นักธุรกิจต้องเอ่ยถึงเหมือนหลายเดือนก่อนอีกแล้ว แต่ประเด็นที่ถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2549 โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนหลังนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก และค่อนข้างรวดเร็ว ขยันทำลายสถิติแข็งค่าสูงสุดไล่ไปตั้งแต่ 6 ปี 7 ปี 8 ปี
ล่าสุดคือแข็งค่าสูงสุดในรอบ 9 ปี
และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ 35.55 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จากต้นเดือนมกราคม เงินบาทยังอยู่ที่เกือบ 41 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ส่งออกจากหลากหลายอุตสาหกรรม จะออกมาโอดครวญถึงผลกระทบที่ได้รับ เพราะแน่นอนว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่ละสตางค์ย่อมลดทอนผลกำไรที่เคยได้รับให้หดหายไปด้วย
ข้อร้องเรียนหลักของผู้ส่งออกที่พอประมวลได้ นอกจากกำไรที่ลดลงจนแทบจะขาดทุน ยังมีปัญหากำหนดราคาสินค้าไม่ได้ เพราะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และยังกระทบให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง เมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพราะเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นย่อมทำให้ราคาสินค้าส่งออกจากประเทศไทยในสายตาผู้นำเข้า แพงขึ้นตามไปด้วย สุดท้ายผลก็คือขายสินค้าได้ยากขึ้นนั่นเอง
ฉะนั้น มาตรการหลักที่ผู้ส่งออกต้องการคือ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าไปแทรกแซงในตลาดการเงิน เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง ซึ่งน่าเห็นใจผู้ส่งออกไทยอยู่ไม่น้อย เพราะตนเองก็ทำมาค้าขายตามปกติ แต่กลับมามีปัจจัยนอกเหนือการควบคุมมาเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ
จะว่าไปแล้วเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมาย เพราะตั้งแต่ต้นปีไม่ใช่มีเพียงแค่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. และนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท.ที่ออกมาส่งสัญญาณว่า เงินบาทมีทิศทางที่จะแข็งค่าขึ้น และเตือนให้ผู้ส่งออก ทำสัญญาซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงของค่าเงินที่ผันผวน แต่ยังมีนักวิชาการหลายคน หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งภาคเอกชนและภาครัฐหลายสำนักล้วนประสานเสียงไปทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเห็นทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และยังพ่วงด้วยปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐที่สะสมมานาน จนความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง ประกอบกับสถานการณ์ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีการเกิดดุลการค้ากับสหรัฐจำนวนมาก และภาวะเศรษฐกิจที่ยังสามารถขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี จึงทำให้นักลงทุนที่ขาดความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์สหรัฐ มีการขนเงินเข้ามาลงทุนในเอเชียแทน ทั้งเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า และเพื่อเก็งกำไรจากค่าเงินที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นได้อีกในอนาคต
แม้ภาพรวมของปี 2549 ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียจะปรับแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกัน แต่ต้องยอมรับว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าสกุลอื่นจริง และดูจะเป็นประเด็นที่ผู้ส่งออกยกมาตำหนิ ธปท.มากที่สุด โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 12.8% ขณะที่เงินริงกิตของประเทศมาเลเซีย แข็งค่าขึ้น 3.98% เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้น 6.34% เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่า 6.82% เงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 7.91%
ที่เป็นเช่นนี้เพราะในช่วงต้นปีคงไม่มีใครลืมดีลประวัติศาสตร์การซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระหว่างตระกูลชินวัตรกับกลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ ที่เทมาเส็กต้องนำเงินตราต่างประเทศมาซื้อเงินบาท เพื่อชำระค่าหุ้นเป็นมูลค่า 73,000 ล้านบาท และยังเงินที่ต้องนำมาใช้สำหรับการเสนอซื้อหุ้นจากประชาชนทั่วไปในช่วงหลังจากนั้น
นอกจากนี้ยังเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานของไทยอื่นๆ ที่สร้างแรงดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดว่าถูกกว่าประเทศอื่นในเอเชีย ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้น สินทรัพย์ในประเทศไทยจึงหอมหวนชวนให้นักลงทุนเข้ามาแสวงหาผลกำไร จนสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นดังกล่าว
แต่อย่าลืมว่า เมื่อปี 2548 ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มอ่อนค่าลง ค่าเงินหลายสกุลในเอเชียปรับตัวแข็งขึ้นมาก ขณะที่ประเทศไทยแข็งค่าต่ำกว่าจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะฉะนั้นเมื่อเฉลี่ยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 7.66% ใกล้เคียงกับคู่แข่ง เช่นริงกิตแข็งค่าขึ้น 4.54% เปโซแข็งค่าขึ้น 12.81% ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 5.86% และเงินวอนแข็งค่า 11.73% ดังนั้น จึงอาจจะไม่ถูกต้องนักที่จะสรุปฟันธงว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าคู่แข่ง เพราะการค้าขายที่ยากขึ้น คงไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น แต่เป็นสภาพที่นักธุรกิจไม่ว่าจะชาติใดล้วนต้องปรับตัวรับทิศทางที่เกิดขึ้นนี้ทั้งสิ้น
สิ่งที่ผู้ส่งออกจะทำได้ คือ ยอมรับที่จะต้องมีต้นทุนเพิ่มทุนในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการบริหารความเสี่ยง ของอัตราแลกเปลี่ยน และควรต้องกลับมาทบทวนแผนธุรกิจใหม่ เพื่อปรับกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถเดินต่อไปข้างหน้าแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ที่ไม่ต้องซื้อขายด้วยดอลลาร์สหรัฐ พัฒนาปรับปรุงสินค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งและตรงความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อหาช่องทางที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตซึ่งน่าจะช่วยชดเชยกำไรที่ลดลงไปได้บ้าง
อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าต้องให้ทางการลอยแพปล่อยผู้ส่งออกให้ช่วยเหลือตัวเองเพียงฝ่ายเดียว เพราะการส่งออกที่ขยายได้ดีไม่ได้ทำให้เจ้าของธุรกิจร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนได้อุปโภคบริโภค และธุรกิจมีการขยายการลงทุน ซึ่งล้วนมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น
การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถใช้ในการบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอ็สเอ็มอี) ยังอาจจะไม่เข้าใจมากนัก, สร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสินค้า, การช่วยสนับสนุนให้ผู้ส่งออก ในการเจาะตลาดใหม่, ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจหรือเป็นต้นทุนโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่นโยบายของ ธปท.ที่จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แต่ละวันมีความผันผวนมากจนเกินไป ก็ยังเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป
และอย่าชะล่าใจกับต่างชาติที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทจนอาจแข็งค่าเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน เพราะเมื่อถึงคราวที่เขานำเงินออกไป คนที่เจ็บก็คงไม่พ้นคนไทยอีกตามระเบียบ
Best Casinos Near Washington State - MapYRO
Find Casinos Near 순천 출장샵 Washington 광명 출장안마 State with 수원 출장안마 MapYRO. Find casinos 당진 출장안마 in 영주 출장안마 Washington state with MapYRO real-time driving directions,
Post a Comment