Sunday, December 10, 2006

คิดนอกกรอบตำราการคลัง : ดร.สมชัย สัจจพงษ์




คิดนอกกรอบตำราการคลัง : สร้างนวตกรรมรากหญ้าสู่รากแก้ว

ดร.สมชัย สัจจพงษ์ : หนังสือทะลุมิติเศรษฐกิจการคลังไทย


รัฐบาลและกระทรวงการคลังได้สร้างนวตกรรมด้านการคลังขึ้นสามด้านได้แก่



  1. นวตกรรมด้านการบริหารทรัพย์สินของรัฐ

  2. นวตกรรมด้านการอัดฉีกเงินเข้าสู่เศรษฐกิจอ่านสถาบันการเงินของรัฐ (มาตรการกึ่งการคลัง Quasi Fiscal Measures) และ

  3. นวตกรรมด้านการจัดสรรงบบประมาณแบบขนมชั้น

1. นวตกรรมด้านการบริหารทรัพย์สินของรัฐ ในส่วนของราชพัสดุต้องถือว่าเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาล รัฐบาลที่ผ่านมามักจะไม่ค่อยเน้นความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ราชพัสดุ รัฐบาลนี้ได้ให้ความสำคัญกับ เรื่องนี้มากเพราะนอกเหนือจากจะสามารถทำให้รัฐบาล มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการบริหารที่ราชพัสดุที่มีอยู่ประมาณ 12 ล้านไร่ และมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท นอกเหนือจากรายได้ของรัฐบาลจากภาษีอากรแล้ว รัฐบาลได้เน้นการบริหารที่ราชพัสดุเพื่อคนจน เกษตรกร และสังคมอีกด้วย ซึ่งนวตกรรมด้านนี้มีส่วนสนับสนุนนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล และมีส่วนแปลงโฉมให้เศรษฐกิจรากหญ้าเป็นรากแก้วในอนาคต

2. นวตกรรมด้านการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจผ่านสถาบันการเงินของรัฐ (มาตรการกึ่งการคลัง) นับว่าเป็นนวตกรรมที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจรากหญ้าสามารถลืมตาอ้าปากได้อย่างเต็มภาคภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสถาบันการเงินของรัฐอื่นๆที่ได้ดำเนินมาตรการกึ่งการคลังนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์เป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายของรัฐบาล อีกทั้งผลประกอบการของสถาบันการเงินของรัฐมีความมั่นคง ฐานะการเงินตามมาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทยแข็งแกร่ง กำไรอยู่ในระดับสูง และ NPL อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ NPL ของธนาคารพาณิชย์เอกชนทั้งระบบ

3. นวตกรรมด้านการจัดสรรงบประมาณแบบขนมชั้น ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการจัดสรรงบประมาณที่พยายามเติมเต็มความต้องการงบประมาณในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งในมิติมหาภาค มิติจุลภาค และมิตินาโนภาค ซึ่งประกอบด้วยความต้องการงบประมาณพัฒนาในมิติของประเทศและรัฐบาลโดยรวม ความต้องการงบประมาณพัฒนาในมิติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความต้องการงบประมาณพัฒนาในมิติของจังหวัด (ผู้ว่าฯ CEO) และความต้องการงบประมาณพัฒนาในมิติของประชาชนระดับหมู่บ้าน (นโยบาย SML) ผมมีความเห็นว่าการจัดสรรงบประมาณแบบขนมชั้นตามความต้องการของสามส่วนหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการนส่วน SML นั้น จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจรากหญ้าแปลงโฉมเป็นเศรษฐกิจรากแก้วในอนาคต

นโยบายการคลังจึงเป็นเครื่องมือทางนโยบายเศรษฐกิจที่มีพลานุภาพมาก เราเคยคิดว่าการดำเนินนโยบายการเงินสามารถสร้างนวตกรรมทางการเงินได้อยู่เรื่อยๆ แต่จากประสบการณ์จริงของการคลังไทยขณะนี้พบว่า การดำเนินนโยบายการคลังสามารถสร้างนตกรรมได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าจะคิดนอกกรอบ Text Book ด้านเศรษฐศาสตร์หรือไม่ เมื่อกล้าที่จะคิดนอกกรอบ ก็ควรคิดนวตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่อ่อนแอที่สุดในสังคมก่อน ซึ่งรัฐบาลไทยได้กล้าคิดและกล้าทำเป็นตัวอย่างแล้วได้แก่นตกรรมนโยบายการคลังเพื่อเศรษฐกิจรากหญ้านั่นเอง

No comments:


Powered By Blogger